home2023

ผลการดำเนินงานตาม PA

รายงานความสำเร็จที่คุณครูโรงเรียนบ้านวังวน
ให้ไว้ในปีงบประมาณ 2566

ผลการจัดการศึกษาในปี 2567

ผลการจัดการเรียนการสอนของคณะครู
ทิศทาง แนวทาง สามารถชมได้ที่นี่

เพราะ โรงเรียนบ้านวังวน เป็น โรงเรียนใกล้บ้าน โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน การเดินทางสะดวกปลอดภัย จัดการเรียนการสอนได้มาตรฐาน ลูกหลานที่เรียนจบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้เรียนต่อ โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม ทุกคน โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก

ผู้ปกครองสามารถมาส่งบุตรหลานได้แต่เช้า 7.00 น. มารับกลับได้ในช่วงเวลา 15.30 น. หรือจะให้เด็กๆเล่นรอผู้ปกครองที่สนามเด็กเล่นที่ปลอดภัย มีครูบ้านพักครูคอยสอดส่องดูแล

โรงเรียนบ้านวังวน เป็นโรงเรียนใกล้บ้าน ที่ไม่ต้องเดินทางไกล ไม่เสี่ยงอันตรายจากการเดินทาง เวลาได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว ไม่ต้องเอาเวลาไปใช้ในการเดินทาง

โรงเรียนบ้านวังวน เป็นโรงเรียนที่บ่มเพาะปัญญาภายในของผู้เรียนด้วย กระบวนการจิตศึกษา เน้น การสร้างวินัยเชิงบวก ไม่มีการลงโทษผู้เรียนด้วยการตี เด็ดขาด เน้นทักษะและกระบวนการคิด พัฒนา EF ให้ผู้เรียนได้ดูแลและกำกับตัวเอง ผ่านกระบวนการเหล่านั้น

โรงเรียนบ้านวังวัน เป็นโรงเรียนที่ร่วมสร้างปัญญาภายนอก สอนวิชาการด้วย กระบวน PBL ที่เริ่มต้นจากการขบคิดปัญหาที่นักเรียนอยากแก้ไข แล้วสร้างเป็นหน่วยการเรียนรู้บูรณาการสาระวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน นักเรียนจะได้ใช้ทุกทักษะและทุกวิชา ในการเข้าแก้ปัญหาแต่ละหน่วยแต่ละสัปดาห์ แต่ละควอเตอร์ สนุก ตื่นเต้น ไม่ต้องนั่งอยู่ที่โต๊ะตลอดทั้งวัน

และที่สำคัญ โรงเรียนบ้านวังวน มีเป้าหมายในการจัดการศึกษาไว้ว่า ” ผู้เรียนเป็นสุข ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ” พี่ๆทุกคนที่ได้เรียนที่นี่ ที่โรงเรียนบ้านวังวน จะได้รับการบ่มเพาะภายใต้สนามพลังบวก มีความสุข

จิตศึกษา จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา “ปัญญาภายใน” ทำให้ผู้เรียน​เข้าใจตัวเอง ใคร่ครวญกำกับตัวเองได้ มีเป้าหมายของตัวเอง ซึ่งจิตศึกษา มี 3 กระบวนทัศน์ ซึ่งต้องทำทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ กระบวนทัศน์แรก ​ครูต้องสร้าง “สนามพลังบวก” ให้นักเรียนรู้สึกว่าอยู่ที่นี่ปลอดภัย ได้รับการเคารพ ร่วมไปกับทางกายภาพของสถานที่มีความสะอาดร่มรื่นปลอดภัย ​มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูและลูกศิษย์

“เราจะทำทุกอย่างไม่ให้เด็กรู้สึกว่าถูกบังคับ เราจะไม่มีเสียงออด เสียงระฆัง โดยสร้างวิถีที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ที่เด็กต้องกำกับตัวเองให้ได้ในแต่ละช่วงเวลา ว่าเวลานี้จะทำอะไร เวลานี้ต้องหยุด สร้างความสม่ำเสมอจนมีเซนส์เรื่องเวลา กำกับตัวเองโดยไม่ต้องมีใครมาบอกว่าใกล้เวลาเข้าแถว เข้าห้องเรียนแล้ว”

ถัดมา กระบวนทัศน์ที่สอง ครูต้องใช้จิตวิทยาเชิงบวกกับเด็ก มีสิ่งที่ต้องลดไม่ทำกับสิ่งที่ต้องทำเพิ่ม ซึ่งอยู่บนหลักการเดียวกันคือเคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันของเด็ก โดยสิ่งที่ไม่ควรทำก็เช่น การเปรียบเทียบ การจัดอันดับ ส่วนสิ่งที่ควรทำเพิ่มก็เช่น การรับ​การชื่นชม การไว้วางใจต่อเขา สิ่งต่างๆเหล่านี้ เสริมให้สมองส่วนกลางของเด็กให้ปลอดภัย ทำให้เขารู้สึกได้รับเกียรติ มีคุณค่าพอที่จะเรียนรู้กับเพื่อนได้

กระบวนทัศน์ที่สามคือกิจกรรมจิตศึกษา มีสามขั้นตอนคือ 20 นาทีแรก ครู จะต้องเตรียมสภาวะจิตเด็กเช่น บริหารสมอง (เบรน ยิม) ​หรืออทำอะไรก็ได้ให้​เด็กมีสติ ​2-5 นาที จากนั้นครูให้ประสบการณ์บางเรื่องเพื่อให้เกิดการรีเฟลคชั่น ​ให้สมองส่วนหน้าได้คิดวิเคราะห์ตัดสินใจเพื่อเลือกทำอะไรบางอย่าง และจบลงด้วยเอ็มพาวเวอร์ (Empower)

ทั้งนี้ ​กิจกรรมมีเป้าหมาย 3 ระดับ คือ ฝึกให้เด็ก มีความชำนาญ มีสติ สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดเวลา
และมีความสามารถตัดสินใจเลือกเชิงจริยธรรมได้ มีความสามารถเลือกเพื่อนำตัวเองได้ ทำลายสิ่งไม่ดี และเป้าหมายระดับสูงคือฝึกให้ผู้เรียนเห็นสิ่งต่างๆ อย่างเป็นจริงในสิ่งที่มันเป็นโดยไม่ตัดสินว่ามันดีเลวอย่างไร

“การฝึกอย่างนี้สัก 200 วัน โครงสร้างสมองย่อมเปลี่ยน มีภาวะการใคร่ครวญ สูงมาก เขาจะเลือกตัดสินใจอะไร
ด้วยความระมัดระวัง ​ดูผลกระทบ ​เขาจะพบตัวเอง เป้าหมายคือการทำให้เขาปฏิบัติต่อสิ่งที่เขามากระทบตัวเองอย่างไร ดำเนินชีวิตอย่างไรให้ไม่เบียดเยียนคนอื่น คอนเซ็ปต์ทั้งหมดสามารถใช้ได้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึง ม.3 แต่ก็จะแตกต่างไปในลักษณะกิจกรรมที่เป็นไปตามวัย”

Cr. วิเชียร ไชยบัง ครูใหญ่ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จากลิ้งก์ https://www.eef.or.th/tsqp208


ภาพกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนของครูอนุบาล 1- ประถมศึกษาปีที่ 6 ทางเพจ Facebook

“สื่อความรู้ คู่มือ”

WEb SERVICE